ไม่ได้อัปบล็อกที่เว็บ The Cheese Factory มาสักพัก (จริงๆที่นี่ก็ไม่ค่อยได้อัปเพราะติดถ่ายงานอย่างต่อเนื่องอยู่)
แต่ถึงกระนั้นเราก็ยังคอยนั่งดู Stat อยู่อย่างต่อเนื่องว่ามีการเคลื่อนไหวอะไรในเว็บบ้าง และผลที่น่าสนใจคือตอนนี้บล็อกที่เว็บ The Cheese Factory ยังมีคนเข้าอ่านอย่างต่อเนื่องไม่หยุดหย่อนจนยอด PageView ทะลุแสนไปแล้ว 4 บล็อก
ซึ่งแน่นอน บล็อกที่ยอดวิวทะลุแสนทั้งหมดเป็นเนื้อหาภาษาอังกฤษ ...
ก่อนหน้านี้เคยเอามาเล่าให้ฟังแล้วรอบนึงตอนปลายปีที่ผ่านมากับเรื่อง โอกาสจากการเขียนบล็อกโปรแกรมมิ่งเป็นภาษาอังกฤษ กรณีศึกษาจากบล็อก The Cheese Factory
บล็อกที่แล้วจะเน้นไปเรื่อง Content ภาษาอังกฤษ แต่อันนี้จะมาอัปเดต Stat ว่าระหว่างเนื้อหาภาษาไทยและภาษาอังกฤษของบล็อกเดียวกันมียอดวิวเป็นอย่างไรและมีการเติบโตเป็นยังไงบ้าง เป็นมุมที่น่าจะช่วยทำให้คนเขียนบล็อกเรียนรู้ Behavior ของผู้อ่านทั้งไทยและเทศได้ครับ
ยอดเข้าชมบล็อกภาษาไทย vs บล็อกภาษาอังกฤษ
เริ่มบล็อกแรก บล็อก Retrofit 2.0
บล็อกติดตั้ง Google Play บน Genymotion
บล็อก Glide vs Picasso
บล็อก Android Design Support Library Codelab
บล็อก Android Runtime Permission
ทุกบล็อกเป็นเหมือนกันหมดคือยอดฝั่งบล็อกภาษาไทยจะพุ่งขึ้นวันแรกเท่านั้น (ผ่าน Social Network) หลังจากนั้นเงียบหงอยไร้การเติบโต มีคนเข้าบ้างเรื่อยๆแต่ก็น้อยมาก ในขณะที่บล็อกภาษาอังกฤษมันจะเติบโตด้วยตัวเองได้ ถึงแม้จะเป็นบล็อกเก่าก็มีคนเข้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆได้เช่นกันหากเนื้อหายังมีคนต้องการ
Traffic Source
ซึ่ง Source มาจากไหนกัน? ก็ไม่ต้องแปลกใจ ... Google เป็นอันดับหนึ่ง ส่วน Stackoverflow จะเป็นตัวชูที่สร้าง Audience จากต่างประเทศมาได้ตลอดเวลา ทุกวันนี้ได้ Referrer มาจาก Stackoverflow เป็นอันดับหนึ่งทุกวัน ส่วน Facebook จะส่งผลกับบล็อกภาษาไทยล้วนๆ
Traffic มาจากกูเกิลเป็นอันดับหนึ่งซะขนาดนี้ ไม่ดู Keyword ก็คงจะบาปไปหน่อย อันนี้เป็น Keyword ครับ
ซึ่งก็โชคดีที่บล็อกเราติด Keyword คำโดดใหญ่ๆอย่าง retrofit ซึ่งคน Search แต่ละวันเยอะมากจนสร้าง Traffic เข้ามาบล็อกตลอดเวลา (ล่าสุดหาคำว่า retrofit ขึ้นเป็นลิงก์ที่ 5)
ส่วน Keyword ที่เป็นคำร่วมอย่าง Glide Picasso, Glide Android หรือ Genymotion Google Play ก็ขึ้นบนหน้าแรกเช่นกัน บล็อกพวกนี้ก็เลยได้แสนวิว(และยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ)นั่นเอง
Region
เนื่องจากบล็อกทั้งหมดเป็นเรื่องของโปรแกรมมิ่ง ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจ อันดับหนึ่งมาจากอินเดีย (และมีคนอินเดียมาเม้นท์บล็อกทุกวันเลย วันละ 2-3 เม้นท์) ส่วนอันดับสองก็ USA และตามมาด้วยคนไทย สามประเทศรวมแล้วประมาณ 38% ที่เหลือกระจัดกระจายอีก 173 ประเทศทั่วโลก
สำหรับอินเดียและ USA จะมาจากทาง Google และ Stackoverflow ซะเยอะ (เกิน 90%) ส่วนคนไทยจะเป็น Traffic จากการ Drive ทาง Social มากกว่าการค้นหาด้วยตัวเอง
สรุป
ที่เอา Stat มาแปะก็ไม่มีอะไร เหตุผลเดิม ... เขียนบล็อกกันเถอะ
ซึ่งก็ดีนะ พักหลังเห็นคนเขียนบล็อกเยอะขึ้นมาก (ส่วนใหญ่เจอใน Medium) ดีใจครับ แอบอ่านอยู่เรื่อยๆ =)
สำหรับคนที่เขียนภาษาไทยก็อยากให้ดู Behavior ครับว่าคนไทยมีรูปแบบการบริโภคเนื้อหาในลักษณะไหน ก็คือจะ Surge ในวันแรกและหลักๆจะเกิดจาก Facebook ทั้งนั้น
มันจึงสำคัญมากที่จะปล่อยบล็อกอย่างถูกเวลาและถูก Target เช่น ถ้าเขียนบล็อกเกี่ยวกับโปรแกรมมิ่งก็ควรไปปล่อยที่ Facebook Group ของโปรแกรมเมอร์ตอนเวลาที่เค้า Active กันเยอะๆ เช่นบ่ายสอง(โปรแกรมเมอร์ทำงานแล้วเอาแต่เล่นเฟส) หรือสี่ทุ่ม(เวลาของโปรแกรมเมอร์) เป็นต้น หากไม่ใส่ใจเรื่องนี้ก็อาจจะทำให้พลาดกลุ่มคนอ่านไปอย่างน่าเสียดายครับ
ส่วนบล็อกภาษาอังกฤษก็เริ่มเห็นมีคนเขียนแล้ว แนะนำให้เขียนบล็อกที่คิดว่าจะมีคน Search หาในอนาคตอันใกล้ จะช่วยเพิ่ม Pagerank ให้กับโดเมนได้เป็นอย่างดี หลังจากนั้นอะไรๆจะง่ายขึ้นครับ
อีกเรื่องที่อยากจะบอกคือ
Volume สำคัญมาก
สามารถ Apply ไปใช้ได้กับหลายๆกรณีเลย ตั้งแต่เขียนบล็อกยันทำธุรกิจ ภาพที่ออกมาก็จะไม่ต่างกันมาก ถ้า Volume ของ Target Audience/Target Customer สูง โอกาสทางธุรกิจก็จะสูงขึ้นตามด้วยเช่นกัน ตรงกันข้าม หาก Volume ต่ำก็คาดหวังยอดอะไรมากไม่ได้นั่นเอง
แต่การที่ Volume ต่ำก็ไม่ได้แปลว่าจะแย่เสมอไป เราเรียกว่ากลุ่มนี้ว่ากลุ่ม Niche ซึ่งแน่ๆหละว่า Volume คงไม่ได้เยอะแบบกลุ่ม Mass แต่ถ้ากลุ่มนี้มีกำลังซื้อก็อาจจะสร้าง Outcome ของบล็อกหรือธุรกิจได้เช่นกัน
ก็ลองหากลุ่มของตัวเองครับ แต่เชื่อเนยนะ
เขียนบล็อกเถอะะะะ