"จงให้แล้วเจ้าจะได้รับ"
เรื่องเล่าของ Pressy ปุ่มกดมหัศจรรย์กับกรณีศึกษา "ความผิดพลาดในการสื่อสาร"
9 Jun 2014 23:06   [11764 views]

ย้อนไปเมื่อปลายปีที่แล้ว มีโปรเจคปุ่มกดมหัศจรรย์นามว่า Pressy โพสท์ขอ Back ไว้ที่ Kickstarter ซึ่งเป็นที่ฮือฮาต่อวงการมาก เพราะเป็นโปรเจคที่คิดนอกกรอบและใช้งานได้จริง ส่งผลให้ยอด Back พุ่งไปที่ $695,138 จากที่ตั้งเป้าไว้เพียง $40,000 หรือราวๆ 17.4 เท่าเท่านั้นเอง ...

เรื่องเริ่มต้นได้สวย แต่หลังจากนั้นสถานการณ์ก็ดันแย่ลงเรื่อยๆจากปัญหาต่างๆ เห็นเป็น Case Study ที่น่าสนใจดี เลยเอามาเล่าให้ฟังกันครับ

ก่อนอื่น ใครยังไม่รู้ว่า Pressy คืออะไร ใช้เวลา 1 นาทีนิดๆไปดูวีดีโอกันก่อนครับว่ามันทำงานยังไง และมันเจ๋งยังไง

สั้นๆก็คือปุ่มเล็กๆที่เอาไว้เสียบตรงช่องหูฟัง แล้วใช้การกดตามจังหวะที่ตั้งไว้ เพื่อให้มือถือทำงานตามที่ต้องการแบบเร่งด่วน ยกตัวอย่างเช่นอยากถ่ายรูป ก็กดทีนึง อยากเปิด LED Flashlight ก็กดสองที เป็นต้น

หลังจากประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามจาก Kickstarter ทาง Pressy ก็เริ่มผลิต โดยแรกเริ่มสัญญาว่าจะส่งล็อตแรกในปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา

และนี่คือจุดเริ่มต้นของปัญหา

ทำเสร็จไม่ทัน แต่ไม่บอก

ถึงจะได้เงินไปเยอะขนาดนั้น แต่ Pressy ก็ยังคงเป็น Startup ที่ประสบปัญหาต่างๆตามประสา ซึ่งส่งผลให้ทำไม่เสร็จตามกำหนด Deliver Late ไปตามระเบียบ

ก็ถือเป็นเรื่องปกติ(ที่ไม่ดีเท่าไหร่)นะ แต่ที่ไม่ปกติคือ Pressy กลับเลือกที่จะ "เงียบหายไป" แบบเงียบสนิท ไม่บอกไม่พูดไม่กล่าว

ปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปสองสัปดาห์เต็ม กว่าจะออกมาบอกว่า Hardware มีปัญหา จากการ QC พบว่าปุ่ม Pressy จำนวนมากพังหลังจากกดไปหลายร้อยครั้ง (ซึ่งถือว่าน้อยมาก) ทาง Pressy เห็นว่าคุณภาพยังไม่ได้ ก็เลยยังไม่ Deliver

แต่บอกช้าไปสองอาทิตย์ ...

Backer รวมทั้งสื่อเมืองนอกถึงกับบ่นอุบ เชื่อสิว่าถึงจะ Late สองเดือนแต่มีการสื่อสารที่ดี คนก็คงไม่บ่นแบบนี้ อันนี้อยากให้ศึกษาไว้เป็น Case Study ที่น่าสนใจครับ

จนถึงตอนนี้ Pressy ก็ยังไม่ Deliver ครับผม

Xiaomi จัดให้ MiKey ก็อป Pressy มาทั้งดุ้น

เอาจริงๆ นี่เป็นเรื่องไม่น่ารักเอาเสียเลยที่มีการก็อปกันแบบนี้ แต่มันก็เกิดขึ้นแล้ว แถมเกิดจากเจ้าใหญ่เสียด้วยอย่าง Xiaomi ที่เข็นเอา MiKey แบบก็อป Pressy มาทั้งดุ้น มาขายให้กับทั่วโลกในราคาเพียง $1 ส่วน Pressy หรอ ... อันนั้นราคา $27 ครับ ... (แม่เจ้า)

แน่นอนว่า Pressy ไม่อยู่เฉย ออกมาช็อคและตัดพ้อผ่าน Engadget ว่า

Though the knock-off versions were anticipated, we did not expect to see it from such a respectable and known company ... We have IP rights for the design and functionality of Pressy, and are considering our next moves to handle the situation.

Pressy

ก็คือ Pressy ฟ้อง Xiaomi แน่ๆนั่นเอง ส่วนผมก็ผิดหวังในการกระทำของ Xiaomi มากพอดู เป็น Startup ที่ได้ดีขนาดนี้แล้ว ไม่ควรจะทำลายคนอื่นด้วยวิธีแย่ๆนะ

คิดว่าเรื่องนี้น่าจะทำให้คนตระหนักถึงความสำคัญของ IP (Intellectual Property) ได้อย่างดีครับ นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมเวลาเราทำอะไร เราควรจะจด IP ไว้เสมอ

เรื่องนี้ไม่ได้จบแค่นี้ แต่ทำให้ Pressy เป๋ไปเลย ... ยังไงนะหรอ?

ดราม่าเรื่อง Google Play Store

หลังจาก Xiaomi ประกาศเปิดตัว MiKey พร้อมขายราคาช็อค Pressy (ทำไมถึงช็อค? ง่ายๆ ใครจะซื้อ Pressy ที่แพงกว่า 27 เท่าหละ?)

Pressy ก็ทำอะไรไม่ถูก ตัดสินใจอะไรแปลกๆ ประกาศว่า "เราจะไม่ปล่อย Pressy ขึ้น Google Play Store ผู้ใช้ต้องโหลดแอพฯไปลงเอง"

สาเหตุก็คือ ไม่อยากให้คนไปซื้อ MiKey แล้วโหลดแอพฯ Pressy ไปใช้ (เทคโนโลยีเดียวกัน ใช้ด้วยกันได้) จากนั้น Pressy ก็ย้ำอีกรอบว่าเราไม่เคยสัญญาว่าจะเอาขึ้น Play Store นะ ดังนั้นเราไม่ผิด ...

แต่ล่าสุด เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา Pressy Team ก็ออกมาขอโทษและบอกว่ามันเป็นความเข้าใจผิด แอพฯมีบน Play Store แน่ๆ

ซึ่งแน่นอน ทุกคนก็รู้อยู่แล้วว่าเกิดอะไรขึ้น รู้ว่ามันคือการเปลี่ยนใจแค่นั้นแหละ และอาจจะเปลี่ยนใจอีกก็ได้ ก็เลยบ่นก่นด่ากันไป และสิ่งที่เสียไปตลอดกาลคือ "ความมั่นใจในทีมงาน" ซึ่งเป็นเรื่องน่าเศร้า ...

Negative always win

ปัญหาทั้งหมดทั้งมวลที่เกิดขึ้น ต้องบอกว่าเกิดจากการสื่อสาร 90% เลยทีเดียว ลองคิดดูว่าถ้าของส่ง Late แล้วออกมาบอกแต่เนิ่นๆ ก็คงไม่มีผลด้านลบขนาดนี้ และถ้าตอน MiKey ออกมา ประชุมกันดีๆก่อนแล้วค่อยออกมาประกาศว่าจะเอายังไง ก็คงไม่ส่งผลด้านลบแบบนี้เช่นกัน

ช่องทางการสื่อสารหลักของทีม Pressy คือ Facebook Page และ Kickstarter (ซึ่งบังคับให้อัพเดตสถานะแก่ Backer) หลังจากผิดพลาดซ้ำแล้วซ้ำเล่าเรื่องการสื่อสาร ตอนนี้ Feedback ในแต่ละโพสท์ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเรื่องแง่ลบทั้งสิ้น มีแง่ดีบ้าง แต่ไม่ได้รับการโหวตขึ้นมาด้านบน

เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า งาน PR นั้นสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโปรดักส์ที่ได้ Exposure สูงๆอยู่แล้ว อย่างเช่น Pressy ดังภาษิตที่ว่า

เมื่อพูดไปแล้วคำพูดเป็นนายเรา ก็ต้องรับผิดชอบคำที่พูดนั้น

PR เป็นสิ่งสำคัญครับ =)

สวัสดีครับ


Source of Inspiration for this blog post:
Android Authority

บทความที่เกี่ยวข้อง

May 7, 2014, 22:03
7760 views
Lean Startup กับ Scott Bales ณ ค่าย #dtacaccelerate
Jun 9, 2014, 23:06
11764 views
เรื่องเล่าของ Pressy ปุ่มกดมหัศจรรย์กับกรณีศึกษา "ความผิดพลาดในการสื่อสาร"
0 Comment(s)
Loading