"ท้อมีไว้ให้ลิงถือ"
5 สิ่งที่แยก 'ผู้นำยอดเยี่ยม' และ 'ผู้นำจอมปลอม' ออกจากกัน
5 Apr 2014 16:40   [8025 views]

ปกติไม่ชอบเขียนบทความแปล แต่วันนี้ไปเจอบทความใน LinkedIn มาอันนึง อ่านแล้วรู้สึกชอบมาก จนต้องขอแปลมาให้ทุกคนได้อ่านกัน

เป็นเรื่องของเชียร์ลีดเดอร์ ... ไม่ใช่สิ เป็นเรื่องของลีดเดอร์ หรือ ความเป็นผู้นำ ว่าด้วย

"5 Things All Great Leaders Have in Common"

ความจริงอย่างหนึ่งที่ต้องยอมรับคือถึง Business Strategy จะดีแค่ไหน ถึงไอเดียจะดีแค่ไหน ถึงคนจะเก่งแค่ไหน แต่ถ้าขาด "ผู้นำที่ดี" ความสำเร็จก็คงเป็นได้แค่ไอน้ำ ไม่มีวันเป็นจริงขึ้นมาได้

เป็นสิ่งที่องค์กรทั้งหลายขาด เพราะพอขึ้นชื่อว่าผู้นำหรือหัวหน้าแล้ว ความบ้าอำนาจก็เริ่มเข้ามา มีมากมายที่ทำตัวเป็นผู้นำกองทัพ ดูแลลูกน้องดั่งทหาร ด่าและข่มเหงต่างๆนานา ผลคือ ... พังทั้งระบบ

... เพราะว่าที่ทำงานคือที่ทำงาน ไม่ใช่สนามรบ ...

ขึ้นชื่อว่าผู้นำ ก็จะมีภาระอะไรมากมายต้องดูแล ต้องเครียด ต้องตัดสินใจทำอะไรบางอย่างตลอดเวลา อีกทั้งยังต้องควบคุมลูกน้อง ให้ทำตามแผนที่วางไว้

มีทางเลือกมากมายที่จะทำให้การคุมลูกน้องเป็นไปได้ด้วยดี แต่ผู้นำที่แสนมักง่ายมักจะเลือกทาง "สร้างวัฒนธรรมความกลัวภายในองค์กร" เช่น ทำอะไรผิดก็หักตังค์ ทำอะไรพลาดก็ลงโทษ มีแต่คนจ้องจับผิด คอยโทษกันไปโทษกันมา สุดท้ายจึงมีแต่ความกดดัน องค์กรสูญสลาย แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้นำเหล่านี้มองไม่ออกคือ ความผิดพลาดของพนักงานคือการเรียนรู้ของคนนั้นๆ คือการเติบโตของคนนั้นๆ และคือการเติบโตของบริษัทไปอีกก้าวหนึ่ง

Keyword นึงที่ Richard Branson แห่ง Virgin ได้เขียนไว้เกี่ยวกับ Leadership และเราชอบมากคือ

Nobody can be successful alone – and you cannot be a great leader without great people to lead

มันบ่งบอกให้เห็นชัดว่า คุณเป็นผู้นำ ไม่ใช่พระเจ้า และ คุณจะเป็นผู้นำได้ยังไง ถ้าสุดท้ายคุณไม่เหลือผู้ตามอีกเลย

และนี่เป็น 5 สิ่งที่ Con Georgiou ได้พูดถึงเกี่ยวกับเรื่องการเป็น Leadership ในธุรกิจหรือองค์กร ว่าเป็น 5 สิ่งที่ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ต้องมี


1) Best in class Leaders care for their people, I mean really care : ต้องแคร์คนในทีมทุกคนอย่างจริงใจ

ผู้นำต้องแคร์ผู้ร่วมงานทุกคน ต้องคอยสอดส่องว่าขาดเหลืออะไร เป็นอะไรมั้ย ป่วยหรือเปล่า ทำได้หรือไม่ ฯลฯ คอยดูแลคนในทีมอย่างใกล้ชิดด้วยความจริงใจ ไม่ใช่สั่งแล้วก็คอยด่าไปเรื่อยๆว่าเมื่อไหร่จะเสร็จ


2) Surround themselves with people who have strengths that they lack : ยอมรับว่าตัวเองไม่เก่งอะไร และขอคำปรึกษาจากคนที่เก่งเรื่องนั้นๆ

ผู้นำควรจะเก่งหลายด้าน แต่ก็คงไม่ใช่ทุกด้าน ต้องยอมรับตัวเองว่าไม่เก่งด้านไหน ลดอีโก้ลงและหาคนที่เก่งด้านนั้นมาให้คำปรึกษา เพื่อเอาเป็นข้อมูลไว้ช่วยในการตัดสินใจได้ดีขึ้น ช่วยทั้งประหยัดเวลาและทำให้การตัดสินใจทำได้ดีขึ้นอีกด้วย


3) Understand the true power of relationships and empower problem solvers : สร้างความสัมพันธ์อันดีและความไว้ใจกับทุกคน

ความสัมพันธ์อันดีของคนในทีม ถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของทุกองค์กรที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ องค์กรที่ดีต้องทุกคนต้องรักกัน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ไว้ใจกัน ไม่ใช่คอยโทษกันไปโทษกันมา ไม่ใช่คอยเอาดีเข้าตัว เอาชั่วเข้าคนอื่น หากไร้ซึ่งสิ่งเหล่านี้แล้ว องค์กรนั้นเป็นองค์กรที่คงไปรอดได้ไม่นาน


4) Have the grit to defend the company’s values under hardship : เห็น Value ของบริษัท

อาจจะมีบางช่วงที่ยากลำบาก ทำอะไรก็ต้องทำ รวมถึงการโยนคุณค่าของบริษัททิ้งไป แต่นั่นคือสิ่งที่ผิด คนที่เป็นผู้นำที่แท้จริงแล้ว ต้องเห็นคุณค่าบริษัทเป็นสิ่งสำคัญ และต้องรู้จักปฏิเสธสิ่งที่ทำให้คุณค่าของบริษัทด้อยลง นอกจากจะทำให้บริษัทดีขึ้นแล้ว มันยังเป็นการพิสูจน์ว่าคุณเข้าใจบริษัท ให้เกียรติคนในทีม และได้ใจทุกคนไปเต็มๆ


5) Communicate, Communicate, Communicate : พูดคุย พูดคุย พูดคุย พูดคุยยยย

เวลาเปลี่ยน อะไรก็เปลี่ยน ทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ต้องรู้จักสื่อสาร พูดคุยกันตลอดเวลา เพื่อ Sync ข้อมูลกัน ไม่ใช่ว่าเมื่อเปลี่ยนแปลงแล้ว ก็ปล่อยให้ทุกคนคิดไปเอง แบบนี้จะทำให้องค์กรสั่นคลอนและพังทลายในที่สุด


สรุปสุดท้ายแล้ว "การสร้างความไว้ใจซึ่งกันและกัน" คงเป็น Keyword ที่สำคัญที่สุด และคุณอย่าคิดแต่จะสั่งๆๆๆเพื่อจะเอา มันไม่ใช่ผู้นำ นั่นเรียกว่าคนเอาแต่ใจ บางทีแค่สั่งไม่พอด้วย คุณต้องทำเป็นตัวอย่างให้เห็น ไม่งั้นคนในทีมจะไว้ใจคุณได้อย่างไร

อย่างที่บอกครับ "สร้างความไว้ใจซึ่งกันและกัน"

หากสนใจอ่านเวอร์ชั่น Original ที่เป็นภาษาอังกฤษ ลองไปอ่านที่ LinkedIn ได้ครับ =)

บทความที่เกี่ยวข้อง

Feb 20, 2014, 00:23
8736 views
AIS เปิดตัวโครงการ AIS The Startup 2014 เน้นหา Content Partner ร่วมทำธุรกิจ
Jun 9, 2014, 23:06
11467 views
เรื่องเล่าของ Pressy ปุ่มกดมหัศจรรย์กับกรณีศึกษา "ความผิดพลาดในการสื่อสาร"
0 Comment(s)
Loading