"Fly high but don't fly alone"
Game Theory กรณีศึกษา ทำไม Swing Copters ถึงจะไม่ประสบความสำเร็จเหมือน Flappy Bird
23 Aug 2014 13:10   [8686 views]

หลังจากปล่อย Flappy Bird มาโลดแล่นให้คนทั่วโลกได้เล่นกันจนเป็นเกมแห่งปีไปแล้วกระมัง ล่าสุดผู้ผลิต Flappy Bird ดั้งเดิมก็ออกเกมใหม่มานามว่า "Swing Copters" เพื่อพยายามต่อยอดความสำเร็จ หลังจากผิดพลาดกับการตัดสินใจเอาเกมออกจาก Store ไปด้วยเหตุผลส่วนตัว เลยหวังจะสำเร็จกับเกมใหม่แทน

 

เราก็จัดการเล่นเรียบร้อย

หลังจากเล่นได้พักนึงก็รู้สึกไม่ค่อยแฮปปี้กับเกมนี้ ถึงกลิ่นอายจะคล้าย Flappy Bird แต่โดยรวมกลับทำออกมาได้แย่กว่าที่คาดไว้มากๆๆๆ จนฟันธงแบบเบาๆว่า เกมนี้น่าจะล้มเหลวหละ

ซึ่งพอไปดู Feedback จากใน Play Store ก็โอ้ละเห่ คะแนนลดลงเรื่อยๆ ยอดโหลดก็อยู่แค่หลักหมื่นเท่านั้น (เพราะคนไปโหลดตัวปลอมกันเกือบล้านโหลด) ถึงตอนนี้เกมปลอมจะโดนเอาออกหมดแล้ว ยอดโหลดตัวจริงก็ไม่ขึ้นแต่อย่างใด

วันนี้เลยจะมาเขียนบทความเกี่ยวกับเกมนี้ซะหน่อยว่าทำไมมันถึงจะล้มเหลวไม่เป็นท่าในเร็วๆนี้ ในลักษณะของ Game Theory แต่จะไม่ใช้ศัพท์เทคนิคนะ ขอใช้คำธรรมดาๆเข้าใจง่าย จะได้ Apply ไปใช้ได้สะดวก =)

ความยากกับความสำเร็จของ Flappy Bird

Flappy Bird ได้รับความขนานนามเรื่อง "ความยากในการเล่น" น่าจะเล่นกันทุกคนแล้วหละมั้ง แต่ความยากนั้นยังอยู่ภายในขีดจำกัดของคนทั่วไป สามารถปรับปรุงและพัฒนาตนเพื่อก้าวข้าวขีดจำกัดนั้น หลังจากจับจังหวะได้ก็สามารถใช้ฝีมือจริงๆเล่นแข่งกับเพื่อนโดยไม่ต้องใช้ดวง

คะแนนก็เลยเพิ่มขึ้นได้จากการพัฒนาตัว พอเพื่อนเห็นว่าคะแนนเริ่มเยอะ ก็ยอมไม่ได้ เลยต้องเล่นเพื่อให้คะแนนแซง

ภาพโดยรวมที่เห็นก็เลยคือ มี Return Rate สูงมากสำหรับเกม Flappy Bird จากการที่ (1) คนจะเข้าไปพัฒนาตัว เพราะรู้สึกว่ามันยากแต่ก็ก้าวข้ามมันไปได้ รู้สึกชนะ (2) จะไปทำคะแนนแซงเพื่อนให้ได้ ซึ่งเป็น Mission ที่ถ้าต้อง Achieve สำหรับ Casual Game อย่าง Flappy Bird ทำได้เมื่อไหร่ก็รวยเมื่อนั้น

ด้วยเหตุฉะนี้ คนสร้างจึงรวยจาก Ads ไปเลย เพราะแอพฯ/เกมที่จะมีรายได้จาก Ads เยอะๆนั้น ต้องมี Return Rate ที่สูง

 

ความยากเกินไปกับความล้มเหลวของ Swing Copters

แต่กับ Swing Copters แล้ว เข้าใจว่าผู้พัฒนาอยู่ในจุดที่เครียดหนักว่าจะต่อยอดความสำเร็จได้อย่างไร เพราะตัวแรกดันสำเร็จสุดๆๆๆ ชนิดที่ Apple ยังเอาไปใช้ในงานเปิดตัว และตัวที่ทำออกมาต้องไม่เหมือน Flappy Bird จนเกินไป ไม่งั้นจะโดนด่าว่าไม่มีพัฒนาการ

จึงเกิดเป็นเกม Swing Copters ที่ทางผู้พัฒนาน่าจะหลงทางและทำเกมออกมาในระดับที่ "ยากมาก" ยากเกินไป ยากในระดับที่เกินขีดจำกัดของมนุษย์ทั่วไป

ผลที่ได้คือ คนไม่รู้สึกว่าสามารถก้าวข้ามความยากตรงนี้ได้ หลังจากเล่นไปได้สัก 10 นาทีก็ตัดสินใจเลิกเล่นและลบเกมทิ้ง ไม่ก็ไม่เข้าเกมอีกเลย

และเช่นเดียวกัน เพื่อนที่ร่วมเล่นด้วย ก็ไม่มีใครก้าวข้ามความยากตรงนี้ได้ ล้วนได้ 0-1 คะแนนกันทั้งสิ้น ก็ไม่รู้จะไปเล่นแข่งกันยังไง เพราะทุกคนได้คะแนนแค่นี้ แล้วก็ไม่รู้จะไปชวนเพื่อนมาเล่นทำไมเพราะเราก็ได้คะแนนกันแค่นี้

ปัญหาแบบสรุปสั้นๆก็เลยคือว่า

"เกมนี้ไม่สามารถ Deliver ความ Challenge ให้กับผู้เล่นได้"

ซึ่งผิดในทฤษฎีเกมพื้นฐานสำหรับเกมที่จะประสบความสำเร็จเลยเลย

ด้วยเหตุฉะนี้ Return Rate จึงต่ำมาก ไร้ซึ่งการบอกต่อ และเป็นเหตุผลว่าทำไมเกมถึงจะล้มเหลวเป็นอันแน่แท้


ก็เป็น Game Theory ที่ควรศึกษาไว้ ความจริง Swing Copters ควรจะขี่ Flappy Bird มาจนได้รับความสำเร็จล้นหลามแบบร่ำรวยไปแล้ว แต่กลับทำไม่ได้ เพราะยังไม่เข้าใจกลไกของจิตวิทยาเกมที่ดีนัก

ใครทำเกมก็ลองดูไว้เป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจครับ =)

บทความที่เกี่ยวข้อง

Feb 4, 2016, 15:31
36923 views
วิธีรับเงิน USD จาก PayPal ด้วยเรตดี๊ดีผ่านธนาคารกรุงเทพสาขานิวยอร์ก
Mar 4, 2015, 20:50
15156 views
มาดูภาพรวมของตลาด Smartphone ในปี 2014 กัน
0 Comment(s)
Loading