"เงินไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาคือไม่มีเงิน"
Google Play ใช้คนร่วมตรวจแอพฯก่อนขึ้น Store แอพฯจะคุณภาพดีขึ้นหรือไม่? เปลี่ยนไปหรือเหมือนเดิม?
19 Mar 2015 00:11   [7830 views]

เพิ่งรู้ตัวว่าไม่ได้เขียน Blog เกี่ยวกับ IT เลย มาสักพักแล้ว 5555555

เอาน่า เอาน่า เรื่องอื่นสนุกๆก็ตั้งเยอะตั้งแยะ จะเขียนแต่ IT ทำไม เนอะะะะ

แต่วันนี้ก็ขอกลับมาเรื่อง IT เล็กน้อยละกันเพราะเมื่อคืนมีข่าวที่ถือว่าใหญ่เลยแหละ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของ Applicaiton Store ที่ใหญ่อันดับต้นๆของโลกอย่าง Google Play Store ที่มีข้อดีในเรื่องของการเอาแอพฯขึ้นอย่างง่ายดายมานานแสนนาน เพราะสามารถเอาขึ้นได้เลย แทบไม่มีการตรวจอะไรให้เสียเวลา

อย่างไรก็ตาม นั่นเป็นเพราะ Policy เดิมของ Google Play ที่อยากจะดึงให้นักพัฒนาเข้ามาพัฒนาแอพฯในระบบเยอะๆ ผลที่ตามมาคือถึงแอพฯจะเยอะก็จริง แต่ "ขยะเต็ม Store" ต้องใช้เวลานานมากราว 4 ปีเห็นจะได้กว่า Play Store จะมีแอพฯคุณภาพทัดเทียมกับ App Store ของฝั่ง Apple

เมื่อความนิยมไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป มีแอพฯโผล่มาใน Store มหาศาล แต่ % ของแอพฯที่มีคุณภาพก็ยังน้อยมากอยู่ดี ที่เหลือถูกถมด้วยแอพฯขยะจำนวนมาก เกือบๆปีที่ผ่านมา Play Store จึงเปลี่ยน Policy จากเดิมที่ไม่มีการตรวจเลย สามารถเอาขึ้นได้ใน 1 นาที กลายเป็นมีระบบอัตโนมัติ(Automated System) ที่ทำการแตก apk ที่อัพโหลดขึ้นไปออกมาแล้ววิเคราะห์ว่าแอพฯนี้ผ่าน Qualify หรือไม่ มีอะไรที่ต้องสงสัยหรือเปล่า มีโค้ด Malware ฝังไว้มั้ย มีรูปโป๊ฝังมากับแอพฯหรือเปล่า มี Content ที่ละเมิดลิขสิทธิ์มั้ย บลาๆๆๆ

android-199225_1280

ส่งผลให้การเอาแอพฯขึ้น Play Store จึงนานขึ้นเป็น 1 ชั่วโมงโดยประมาณ ซึ่งถึงจะดูใช้เวลาแต่มันก็เล็กน้อยมาก การเพิ่มระบบตรงนี้ Play Store ก็สามารถกรองแอพฯขยะออกไปได้จำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแอพฯประเภท Reskin ที่โครงสร้างของแอพฯเหมือนเดิมทุกตัว แค่หน้าตาที่ต่างออกไป (พอทราบมาจากคนสาย Reskin ว่าหลังๆแอพฯถูกแบน ไม่สามารถเอาขึ้นได้แล้ว) หรือแอพฯประเภทที่มีโค้ดของ Virus/Malware ฝังอยู่ มันก็จะตรวจเจอเหมือน Antivirus และห้ามไม่ให้แอพฯขึ้น Store

แต่ถามว่ามันกรองได้ทุกอย่างมั้ย? ก็ไม่ เอาจริงๆก็กรองออกไปได้แค่เล็กน้อยเท่านั้น มันมีวิธีหลบเลี่ยงอะไรมากมาย กว่าแอพฯจะถูก Report และเอาออกจาก Store ก็มีคนโหลดไปมหาศาลแล้ว สรุปแล้ว แอพฯขยะก็ยังถมเต็ม Store อยู่ดี

ปีที่ผ่านมามีการเคลียร์เอาแอพฯขยะออกไปจาก Play Store จำนวนมาก โดยส่วนใหญ่ที่โดนเอาออกไปเป็นแอพฯที่ทำอะไรไม่ได้เลย แต่ถูกอัพขึ้น Store (ประมาณว่า Hello World) แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือ มันก็ยังเกิดตัวใหม่มาอีกเรื่อยๆ (นี่มันแอพฯหรือไฮดร้า)

เมื่อปัญหาเรื่องแอพฯขยะเยอะ แถมบางตัวก็เป็นแอพฯที่ทำมาเพื่อแอบดูดข้อมูลของผู้ใช้ Google เห็นท่าไม่ดี(และอยู่ในสถานะที่เล่นตัวได้แล้วเพราะเป็น Platform อันดับหนึ่งแล้ว) จึงประกาศเปลี่ยนแปลงขั้นตอนการตรวจแอพฯครั้งใหญ่อีกครั้งเมื่อคืนนี้เองพร้อมการเปิดจองตั๋ว Google I/O 2015 ว่า "เราจะเพิ่มขั้นตอนให้คนเข้ามาช่วยตรวจแอพฯด้วย"

Several months ago, we began reviewing apps before they are published on Google Play to better protect the community and improve the app catalog. This new process involves a team of experts who are responsible for identifying violations of our developer policies earlier in the app lifecycle. We value the rapid innovation and iteration that is unique to Google Play, and will continue to help developers get their products to market within a matter of hours after submission, rather than days or weeks. In fact, there has been no noticeable change for developers during the rollout.

เอาจริงๆไม่คิดนะว่าจะมีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นได้ ค่อนข้างเกินคาดการณ์ไปพอสมควร แต่ถามว่ารู้สึกยังไงตอนได้ยินตอนแรก? ... ดีใจมากกกกกกกกกกกกกกก

ที่ผ่านมาเนยรู้สึกไม่ชอบและไม่อยากสนับสนุนแอพฯที่เน้นปริมาณมาโดยตลอด และรู้สึกอึดอัดมากกับการที่ Store ถูกถมด้วยแอพฯแย่ๆจำนวนมาก แถมแอพฯเหล่านี้ก็ได้เงินจากการลงโฆษณาด้วย ทำให้เกิดค่านิยมว่า "แค่ทำแอพฯกากๆดาดๆก็พอหนิ ได้ตังค์แล้วหนิ พอแล้ว จะทำอะไรอีก"

despair-513529_1280

ทำไมถึงไม่ชอบหนะหรอ ...​ เพราะมันทำให้รู้สึกว่าทำกากๆก็ได้ ไม่ต้องทำอะไรมากมาย สุดท้ายนักพัฒนาจำนวนมากก็เลยไม่ขวนขวายที่จะเก่งขึ้น (เพราะได้เงินแล้ว แถมเยอะด้วย) ซึ่งตรงนี้จริงๆเป็นเรื่องของใครของมัน ว่ากันไม่ได้ แต่ผลที่ตามมานี่สิที่เป็นเรื่องเศร้า เพราะค่านิยมที่เกิดขึ้นมันกระทบต่อสังคมนักพัฒนามากทีเดียว แถมยังทำให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์จำนวนมาก (เพราะทำแอพฯยังไม่ขวนขวายจะให้มีคุณภาพ ไม่ต้องพูดถึง Content ที่อยู่บนแอพฯ เกินครึ่งเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ... แต่ได้ตังค์)

แต่ถามว่าการเพิ่มขั้นตอนใช้คนร่วมตรวจแอพฯนี้เพิ่งทำหรือ? ต้องตอบว่า "เปล่า"​ เพราะจริงๆเริ่มทำมาหลายเดือนแล้ว แค่เพิ่งมาประกาศอย่างเป็นทางการ

ถ้าให้เดาก็น่าจะพร้อมกับตอนช่วงที่กูเกิ้ลประกาศจะเคลียร์แอพฯขยะทิ้งจาก Store นั่นเอง

ดังนั้นก็บอกได้ว่า การตรวจแอพฯไม่ได้ช้าลงแต่อย่างใด เพราะ Google ยังมองเห็นว่ามันเป็นจุดแข็งของ Google Play ที่แอพฯขึ้น Store ไว ก็เลยยังรักษาสิ่งดีๆตรงนี้ไว้ แล้วก็ตามที่เห็นก่อนหน้านี้ เราสามารถเอาแอพฯขึ้นได้ภายใน 1-2 ชั่วโมงเท่านั้นเอง ไม่ต้องรอเป็นวันๆหรือสัปดาห์ๆ

พอมาดูรายละเอียดแล้วก็พบว่าการตรวจแอพฯด้วยระบบอัตโนมัติก็ยังมีอยู่(เพราะมันตรวจได้ลึกกว่า แต่ฉลาดน้อยกว่าทางด้านการคิดวิเคราะห์) แต่มีการเพิ่มคนตรวจขึ้นมาด้วย โดยสิ่งที่คนจะตรวจคือ "มีการละเมิด Developer Policies" หรือเปล่า ถามว่ามีอะไรบ้าง? ก็ขอสรุปมา ณ ที่นี้

แอพฯไม่มีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมทางเพศ - ถ้ามีภาพลามกอนาจารหรือภาพที่กระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศ จะไม่ให้ผ่านขึ้น Store หรือถ้ามีภาพการละเมิดทางเพศเด็ก จะไม่แค่ไม่ให้เอาขึ้น Store แต่จะแจ้งความและลบบัญชี Google ของผู้เพยแพร่ทิ้งเลย

มีเนื้อหาความรุนแรง - หากมีความรุนแรงอย่างไร้เหตุผลหรือมีเนื้อหาที่เป็นการข่มขู่ จะไม่ให้ผ่านขึ้น Store

มีเนื้อหาที่แสดงความเกลียดชัง - เช่นการเหยียดผิว เหยียดเพศ เหยียดชนชาติ พวกนี้ถือเป็นข้อห้ามหนึ่งที่ไม่ตลก

มีการแอบอ้างบุคคลหรือหลอกลวง - เช่นทำแอพฯเลียนแบบโดยใช้ชื่อเดียวกันไม่ว่าจะจงใจหรือไม่ นอกจากนั้นหากมีการใช้ไอคอนที่คล้ายกับแอพฯที่มากับเครื่อง พวกนี้ก็จะโดนห้ามไม่ให้เอาขึ้น Store เช่นกัน

ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา - ชัดเจนในตัวมันเอง ไม่ต้องอธิบายเนอะ (แต่ก็ยังละเมิดกันกระจุยอยู่ดี) (แต่ขอกราบภาวนาให้ Strict มากขึ้นทีเถิด) (เนยขอร้อง)

กิจกรรมที่ผิดกฏหมาย - เช่นมีการขายยาเสพย์ติดหรือแม้กระทั่งขายยาเฉพาะที่ต้องมีใบสั่งแพทย์

การพนัน - การพนันออนไลน์ แทงบอล แทงม้า ขายล็อตเตอรี่หรือเกมที่มีรางวัลเป็นเงินสดหรือของที่มูลค่าอื่นๆ

ผลิตภัณฑ์อันตราย - มีโค้ดของ Virus/Malware หรือลิงค์ที่ส่งไปยังแหล่งดาวน์โหลด Virus/Malware มีการ Phishing (หลอกให้ผู้ใช้กรอกข้อมูลสำคัญ) มีการรวบรวมข้อมูลโดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัว (Spyware) หรือมีการเชื่อมโยงไปโหลดแอพฯนอก Store เป็นต้น

การแทรงแซงระบบ - มีการทำให้ระบบของผู้ใช้เปลี่ยนไปโดยผู้ใช้ไม่รู้ตัว เช่น ไปจัดเรียง Widget ใหม่ ไปแก้ไข Bookmark ของ Web Browser รวมถึงห้ามมีการโฆษณาผ่าน Notification ยกเว้นเป็นการโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับแอพฯ/เกมฯนั้นๆ

ใส่ Keyword ที่ไม่เกี่ยวกับแอพฯบน Description - เป็นปัญหามาตลอดโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับแอพฯที่ทำอะไรไม่ได้เลย แต่เขียน Description ซะเลิศหรูเพื่อล่อคนมาโหลด ตอนนี้โดนห้ามเอาขึ้น Store แล้วจริงจังนะครับ คนรอบตัวหลายคนโดนมาแล้ว

ให้ดาว/คอมเม้นท์แอพฯเพื่อเพิ่มคะแนนด้วยวิธีขี้โกง - หากจับได้ว่ามีกลไกการ Rate หรือ Comment App ในเชิงขี้โกง เช่น จ้างมาหรือจูงใจด้วยของรางวัล จะโดนเอาออก

ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เป็น Policy ที่มีมาแต่เดิมอยู่แล้วและเน้นไปที่ปัญหาที่จับต้องได้และร้ายแรงเท่านั้น แถมบางข้อก็ดูจะตรวจเจอไม่ได้ในขั้นตอนตรวจด้วยคนซึ่งถูกเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย

วิคงวิเคราะห์

เนื่องจากขั้นตอนการตรวจด้วยคนทำมาแล้วหลายเดือน อีกทั้งพอมานั่งดูรายละเอียดทั้งหมดแล้ว ถามว่ามันจะสร้างความเปลี่ยนแปลงเรื่องคุณภาพแอพฯหรือไม่? ด้วยข้อมูลที่มีตอนนี้คงต้องบอกว่า "ไม่น่าจะช่วยอะไรมาก" เพราะทั้งหมดทั้งมวลไม่มีเงื่อนไขเรื่องคุณภาพ (ซึ่งเป็นเรื่องที่มโนมากๆว่าอะไรคือคุณภาพดีหรือไม่ดี ไม่มีใครตัดสินได้ ยกเว้น ...​ คนตรวจแอพฯของ Apple เท่านั้น ...) รวมถึงหลายๆอย่างก็ไม่สามารถตรวจเจอได้ง่ายๆ สุดท้ายแอพฯก็ถูกเอาขึ้นก่อนแล้ว สร้างความเสียหายแล้ว ถึงจะถูกเอาลงในภายหลัง

เท่าที่อ่านบทสัมภาษณ์ดู หลักๆระบบก็ยังใช้ตัว Automated System ในการวิเคราะห์แอพฯอยู่ดี แค่มีคนมาช่วยดูเพิ่มเติมเป็นบางส่วนเท่านั้น และปลายทางคือจะเอาสิ่งที่มนุษย์เรียนรู้มาสร้างเป็นอัลกอริทึมให้กับตัว Automated System ต่อไปนั่นเอง

ถึงการประกาศครั้งนี้จะดูน่าตื่นเต้นเพราะมันดูเหมือน Google กำลังจะตรวจแอพฯเข้มเหมือน Apple รึเปล่า แต่ดูจากที่เกิดขึ้นแล้วคงต้องบอกว่า ยังไม่มีแม้แต่ความจะใกล้เคียงกันเลย ทุกอย่างของฝั่ง Google Play ยังแทบจะเหมือนเดิมทุกประการเลยแหละ ก็เลยคิดว่า "คงไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรที่จับต้องได้ในแง่ของคุณภาพแอพฯ" แหละนะ อะไรที่ละเมิดก็ยังละเมิดอยู่ต่อไป อะไรที่เป็นแอพฯขยะก็คงจะยังอยู่ต่อไป

คงต้องหมั่น Report App (Flag as inappropiate) กันต่อไป ...

แล้วจุดประสงค์หลักของการเอาคนเข้ามาร่วมตรวจคืออะไร? เท่าที่ดูคือเอามาช่วยจัดการระบบ App Catalog ให้แอพฯที่ถูกต้องไปอยู่ในถูกที่และจะทำให้ระบบ Search ทำงานได้ดียิ่งขึ้น Search ด้วย Keyword นี้ก็จะเจอแอพฯอย่างถูกต้อง ไม่ใช่ Search อะไรก็เจอแอพฯตัวเดิม ซึ่งส่งผลให้มีปัญหาเรื่อง Quality นั่นเอง สรุปคือแอพฯที่ไม่มี Quality ก็ยังอยู่ แต่ด้วย Policy ที่กำหนดขึ้นมาใหม่ จะทำให้ของพวกนี้หาเจอได้ยากขึ้น

แต่สิ่งดีๆที่เกิดขึ้นตอนนี้แล้วตอนนี้คือระบบ Automated System นั้นฉลาดพอที่จะกรองแอพฯจำพวก Reskin (จำพวกที่ไม่ได้ทำ Content ของตัวเอง แต่ทำมาเพื่อเป็นแสปม) ออกไปได้บ้างแล้ว แต่ก็ยังแค่เล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับการเติบโตของแอพฯจำพวกนี้แล้ว ส่วนใหญ่จะเป็น Pattern ของแอพฯพวกที่ถูก Report บ่อยๆจนระบบ Treat ว่าเป็น Malware ซึ่งวิธีการตรวจจับคืออาศัยการที่มันมี Pattern ของแอพฯเหมือนเดิมทุกประการมาสร้างเป็นอัลกอริทึมสำหรับการตรวจสอบนั่นเอง ถ้าทุกอย่างดำเนินการต่อไปในลักษณะนี้ แค่นี้ก็น่าจะช่วยลดจำนวนแอพฯขยะลงไปได้มากแล้ว เพราะพักหลังนี้แอพฯ​ Reskin ระบาดเหลือเกินจากการที่มันดูง่ายและใครๆก็ทำได้นั่นเอง (แต่ไม่มีคุณภาพและมีการละเมิดลิขสิทธิ์คนอื่นเยอะมาก)

แล้วพวก Malware หรือแอพฯที่มีฟีเจอร์ไม่ประสงค์ดีหละ? เท่าที่ดูด้วยตาเปล่าจากการไล่ดูแอพฯเมื่อวาน พบว่าระบบ Automated System ก็ยังกรองออกได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้นเอง ยังคงเป็นปัญหาต่อไป

ฟีเจอร์ที่เพิ่มมาแล้วพอจะจับต้องได้คงเป็นสถานะของการอนุมัติแอพฯที่โผล่ขึ้นในหลังบ้าน Play Store พร้อมกับเหตุผลที่ชัดเจนขึ้นในกรณีที่แอพฯถูก Reject นั่นเอง

ส่วนสิ่งที่มนุษย์จะช่วยมาจัดคือการควบคุมประเภทของแอพฯไม่ให้ใส่ Keyword มั่ว เพื่อจุดประสงค์ทางด้านการทำ ASO (App Store Optimization) จนทำให้แอพฯดีๆไม่สามารถโผล่ขึ้นมาใน Search Results ได้ ซึ่งผมว่า ... ก็ดีเลยนะ =D

บทความที่เกี่ยวข้อง

Dec 13, 2014, 14:48
13644 views
[Tips] วิธีง่ายๆในการเพิ่มความเร็วการ Build แอพฯบน Android Studio
May 11, 2015, 14:10
20550 views
รับ Badge อย่างเป็นทางการ Android Google Developer Expert คนแรกของ SEA =)
0 Comment(s)
Loading